วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

♣♣♣♣::::...ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย....::::♣♣♣♣

::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

§§§§::::...ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย...::::§§§§


ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งเกวียน ต.เวียงตาล อยู่ในความดูแลของฝ่ายอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) แต่เดิม ออป. เป็นศูนย์ฝึกลูกช้างซึ่งเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในโลก โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นสถานที่เลี้ยงและฝึกลูกช้างเพื่อให้เชื่อฟังคำสั่งและมีความชำนาญในการทำไม้ขณะที่แม่ช้างไปทำงานในป่า และเนื่องจากมีนโยบายปิดป่าซึ่งทำให้ช้างต้องว่างงาน ศูนย์ฝึกลูกช้างจึงถูกปรับมาเป็นสถานที่ดูแลช้างแก่และเจ็บป่วย และที่นี่ยังเป็นสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลช้างด้วย ออป.จึงได้ก่อตั้งศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 และจัดกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยว ได้แก่



การแสดงของช้าง



 การแสดงของช้าง ซึ่งยังคงอนุรักษ์ศิลปะการทำไม้ซึ่งใช้ช้างเป็นพาหนะ และแรงงานที่สำคัญ ในการชักลากไม้ที่ได้จัดแสดงให้นักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างประเทศได้ชม เวลาในการแสดง
 วันจันทร์ - ศุกร์ มีการแสดง 2 รอบ ในเวลา 10.00 น . และ 11.00 น .       
 วันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดต่างๆ จะเพิ่มรอบการแสดงในเวลา 13.30 น.


นั่งช้างรอบบริเวณซึ่งเป็นสวนป่า ธรรมชาติยังมีสิ่งดีๆ ที่คอยให้กำลังใจกับเราทุกเมื่อ บางครั้งเราอาจจะสับสนวุ่นวาย เครียดหนักกับการทำงานทั้งวัน ทั้งสัปดาห์ลองหลบความวุ้นวายเหล่านั้น ไปท่องเที่ยวกับธรรมชาติ โดยเฉาะกับการขี่ช้างชมธรรมชาติ ท่านจะรู้สึกถึงความแปลกใหม่ในชีวิต เป็นรางวัลจากความเหน็ดเหนื่อยที่จะทำให้ท่านลืมงานที่ออฟฟิคไปอีกหลายวันเชียวแหละ การนั่งช้างให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00 - 15.30 น .



Cr.
การแสดงของลูกช้างทุกวันวันละ 3 รอบคือ 09.30 น., 11.00 น. และ14.00 น.
ช้างแท็กซี่ หรือบริการนั่งช้างชมธรรมชาติรอบๆ ศูนย์ฯ มีทุกวัน เวลา 08.00-15.30 น
         โฮมสเตย์ (Homestay) ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสบรรยากาศธรรมชาติ เรียนรู้วิถีชีวิตที่ผูกพันระหว่างช้างกับคนเลี้ยงช้างอย่างใกล้ชิด บริการอาหารเครื่องดื่มและร้านขายของที่ระลึก ค่าเข้าชมสำหรับ ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการได้หลายเส้นทาง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  โทร. 054-247871-6


ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Tourism Awards) ประเภทรางวัลดีเด่นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ พ.ศ.2541 ปัจจุบันศูนย์ฯมีโครงการ โรงเรียนฝึกควาญช้าง เพื่อฝึกควาญหรือผู้ที่ประสงค์จะเป็นควาญให้สามารถดูแลช้างได้อย่างถูกต้อง มีชาวต่างชาติให้ความสนใจมาสมัครเป็นนักเรียนหลายคน นอกจากเรื่องท่องเที่ยวแล้วยังมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ พลังงานที่ใช้ภายในศูนย์ฯ มาจากพลังงานทดแทนในโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ มีก๊าซชีวภาพจากมูลช้างใช้ในการหุงต้ม และกระแสไฟฟ้าผลิตจากเซลล์แสงอาทิตย์......




:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::



วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

โครงงาน สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ

โครงงานวิทยาศาสตร์
เรื่องสเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ

ผู้จัดทำ
     1.     ด.ญ. ณัฐฐินี     ศรีบุญวงษ์   เลขที่ 13     ม. 1/1
     2.     ด.ช.  ณัฐกิตติ   ขจรคำ        เลขที่ 14     ม. 1/1
     3.     ด.ญ. ณัฐจีรา    ฉัตรตันใจ    เลขที่ 15     ม. 1/1
     4.     ด.ช.  ณัฐวุฒิ    ตุ้ยสืบ          เลขที่ 16     ม. 1/1
     5.     ด.ญ. ทิพยรัตน์ โปธา           เลขที่ 17     ม. 1/1
     6.     ด.ช.ธนวัฒน์     แปงสุข        เลขที่ 18     ม. 1/1

ครูที่ปรึกษา
1.     ครูประเทือง      ผัดวัง
2.     ครูกัญญารัตน์   มูลวิชา
3.     ครูเปมวีร์ญาณ์  โชคชัยอุดมกูล

โรงเรียนลำปางกัลยาณี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 35



โครงงานวิทยาศาสตร์
เรื่องสเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ

ผู้จัดทำ
1.     ด.ญ.ณัฐฐินี          ศรีบุญวงษ์      เลขที่ 13     ม. 1/1
2.     ด.ช.ณัฐกิตติ        ขจรคำ            เลขที่ 14     ม. 1/1
3.     ด.ญ.ณัฐจีรา         ฉัตรตันใจ       เลขที่ 15     ม. 1/1
4.     ด.ช.ณัฐวุฒิ          ตุ้ยสืบ             เลขที่ 16     ม. 1/1
5.     ด.ญ.ทิพยรัตน์      โปธา              เลขที่ 17     ม. 1/1
6.     ด.ช.ธนวัฒน์         แปงสุข           เลขที่ 18     ม. 1/1

ครูที่ปรึกษา
1.     ครูประเทือง         ผัดวัง
2.     ครูกัญญารัตน์       มูลวิชา
3.     ครูเปมวีร์ญาณ์      โชคชัยอุดมกูล 





โครงงานเรื่อง    สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ
ผู้ทำโครงงาน    1.   ด.ญ.ณัฐฐินี      ศรีบุญวงษ์           
                    2.   ด.ช.ณัฐกิตติ     ขจรคำ    
                    3.   ด.ญ.ณัฐจีรา     ฉัตรตันใจ 
                    4.   ด.ช.ณัฐวุฒิ      ตุ้ยสืบ                
                    5.   ด.ญ.ทิพยรัตน์   โปธา       
                    6.    ด.ช.ธนวัฒน์    แปงสุข              
โรงเรียน          ลำปางกัลยาณี
ครูที่ปรึกษา      1.  ครูประเทือง    ผัดวัง
                    2.  ครูกัญญารัตน์ มูลวิชา
                    3.  ครูเปมวีร์ญาณ์  โชคชัยอุดมกุล


บทคัดย่อ
       เนื่องจากในปัจจุบัน กลิ่นที่ไม่ต้องการ และมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
เราจึงต้องคิดค้น สเปรย์ที่ทำจากสมุนไพรเพื่อดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ และต้องมีความปลอดภัย เราจึงศึกษาสมุนไพร 3 ชนิดนี้มา 1.ตะไคร้ 2.ใบเตย 3.มะกรูด
แล้วจึงได้ทำสเปรย์สมุนไพรปรับอากาศมีขั้นตอนในการทำที่ปลอดภัยและมีความสะอาด และมีประสิทธิภาพ




กิตติกรรมประกาศ
                โครงงานเรื่องนี้ประกอบด้วยการดำเนินงานหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การศึกษาหาข้อมูล การทดลองการวิเคราะห์ผลการทดลอง การจัดทำโครงงานเป็นรูปเล่ม จนกระทั่งโครงงานนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีตลอดระยะเวลาดังกล่าวคณะผู้จัดทำโครงงานได้รับความช่วยเหลือและคำแนะนำในด้านต่าง ๆ ตลอดจนได้รับกำลังใจจากบุคลากรหลายท่าน คณะผู้จัดทำตระหนักและซาบซึ้งในความกรุณาจากทุก ๆ ท่านเป็นอย่างดี ณ โอกาสนี้ขอขอบคุณทุก ๆ ท่าน ดังนี้
                ขอขอบคุณ ครูประเทือง  ผัดวัง ครูกัญญารัตน์ มูลวิชา และครูเปมวีร์ญาณ์  โชคชัยอุดมกุลอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ผู้ให้ความรู้ คำแนะนำ เสียสละเวลามาช่วยฝึกฝนเทคนิคในการทำโครงงานครั้งนี้ และได้เมตตาให้ความช่วยเหลือในทุก ๆ ด้าน ตลอดจนเอื้อเฟื้อห้องปฏิบัติการและเครื่องมือต่าง ๆ ในการทำโครงงานนี้จนประสบความสำเร็จ
                ขอขอบคุณทุกกลุ่มสาระรายวิชาของโรงเรียนลำปางกัลยาณีที่ได้กรุณาให้ความรู้ คำแนะนำ ข้อติชม ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์  อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง
                ขอขอบคุณผู้อำนวยการธรณินทร์  เมฆศิริ ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปางกัลยาณี อำเภอเมืองลำปางจังหวัดลำปาง  ที่ได้ให้การสนับสนุนในทุกๆ ด้าน
                ขอขอบคุณ เพื่อน ๆ ที่ได้ให้ความช่วยเหลือในการทำโครงงาน
ท้ายที่สุด ขอกราบขอบพระคุณ คุณพ่อและคุณแม่ ผู้เป็นที่รัก ผู้ให้กำลังใจและให้โอกาสการศึกษาอันมีค่ายิ่ง
                                                                                                                คณะผู้จัดทำ



สารบัญ
                                                                                                                    หน้า   
บทคัดย่อ                                                                                                         ก
กิตติกรรมประกาศ                                                                                          ข
สารบัญ                                                                                                            ค
สารบัญตาราง                                                                                                  ง
สารบัญภาพ                                                                                                    จ
บทที่ 1 บทนำ
          ที่มาและความสำคัญ                                                                            1
          วัตถุประสงค์ของโครงงาน                                                                  1
          ขอบเขตของโครงงาน                                                                         1
          สมมติฐาน                                                                                              2
          ตัวแปรที่ศึกษา                                                                                       2
          นิยามศัพท์เฉพาะ                                                                                  2
          นิยามเชิงปฏิบัติการ                                                                             2
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง                                                       3
บทที่ 3 วิธีดำเนินการทดลอง                                                                         10
บทที่ 4 ผลการทดลอง                                                                                    14
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ                                                   16
เอกสารอ้างอิง                                                                                                17


สารบัญตาราง

ตารางที่                                                                                                 หน้า

ตารางที่ 4.1  แสดงผลการทดสอบกลิ่น                                                             14
ตารางที่ 4.2 แสดงผลการสอบถามความคิดเห็น                                                                 15


สารบัญรูปภาพ

ภาพที่                                                                                                  หน้า

ภาพที่ 2.1       ภาพตะไคร้                                                                                     4
ภาพที่ 2.2       ภาพใบมะกรูด                                                                                6
ภาพที่ 2.3       ภาพใบเตย                                                                                     8
ภาพที่ 3.1       ภาพการหั่นใบเตย                                                                       11
ภาพที่ 3.2       ภาพการหั่นตะไคร้                                                                       11
ภาพที่ 3.3       ภาพการหั่นใบมะกรูด                                                                  11
ภาพที่ 3.4       ภาพการต้มใบเตย                                                                         11
ภาพที่ 3.5       ภาพการต้มตะไคร้                                                                         11
ภาพที่ 3.6      ภาพการต้มใบมะกรูด                                                                    11
ภาพที่ 3.7      ภาพการกรองน้ำสมุนไพรใบเตย                                                 11
ภาพที่ 3.8      ภาพการกรองน้ำสมุนไพรตะไคร้                                                  11
ภาพที่ 3.9      ภาพการกรองน้ำสมุนไพรใบมะกรูด                                             11
ภาพที่ 3.10    ภาพน้ำสมุนไพรตะไคร้                                                                  12
ภาพที่ 3.11    ภาพน้ำสมุนไพรใบเตย                                                                   12
ภาพที่ 3.12    ภาพน้ำสมุนไพรใบมะกรูด                                                              12
ภาพที่ 3.13    ภาพสเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ                                                   12



บทที่ 1
บทนำ
1.1 ที่มาและความสำคัญ
        ปัจจุบันนี้ สังคมของเรามักประสบปัญหากับมลภาวะที่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ เช่น ภายในห้อง ในรถยนต์  โดยเฉพาะในเขตชุมชนเมือง    ที่ผู้คนอาศัยกันอย่างแออัด  ซึ่งมีปัญหา ขยะเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นให้กับชุมชน  โรงเรียน  มีการใช้ห้องน้ำร่วมกันของนักเรียน  แล้วขาดการรักษาความสะอาด  ทำให้ห้องน้ำนักเรียน  มีกลิ่นเหม็น ไม่น่าใช้ ปัญหาเหล่านี้  ทำให้ผู้คนหันมา ซื้อสเปรย์ปรับอากาศ ตามท้องตลาด  มาใช้ซึ่งจะมีราคาแพงและมีส่วนผสมของ  สารเคมีซึ่งทำให้เกิด     อันตรายต่อสภาพแวดล้อม  
         คณะผู้จัดทำจึงศึกษาสมุนไพร  ที่หาง่ายในท้องถิ่นและ เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม   มีสรรพคุณช่วยดับกลิ่นคาว  หรือกลิ่นเหม็นได้  แถมกลิ่นของสมุนไพร  ยังสามารถช่วยไล่ยุงและกำจัดยุงได้เป็นอย่างดี   มาทำเป็นสเปรย์สมุนไพรปรับ     อากาศ ที่จะจัดทำขึ้นมีประโยชน์ 2 ต่อ และมีผลิตภัณฑ์ที่ราคาไม่แพงต้นทุนต่ำ เพราะทำมาจากสมุนไพรพื้นบ้าน

1.2 จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการกำจัดกลิ่นของสารสกัด ใบเตย ผิวมะกูด และใบตะไคร้หอม 
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถในการกำจัดกลิ่นของสารสกัดจากใบเตย ผิวมะกูดและใบตะไคร้
3. เพื่อเพิ่มคุณค่าของสมุนไพรในท้องถิ่น

1.3  ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
      ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ตั้งแต่เดือน มิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม 2558

1.4 สมมติฐาน
     1.สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ จากสารสกัด ตะไคร้ สามารถกำจัดกลิ่นได้ดีกว่าสารสกัดจากใบเตยและใบมะกรูด
ได้ดีกว่าตามลำดับ
     2.ผู้ใช้มีความพึงพอใจกับสเปรย์สมุนไพรปรับอากาศจาก  ตะไคร้  ใบเตย ใบมะกรูด
เป็นอันดับหนึ่ง,สอง,สาม ตามลำดับ

1.5  ตัวแปร
ตอนที่ 1 การศึกษาในความสามารถในการกำจัดกลิ่นของสเปรย์สมุนไพรปรับอากาศจากสารสกัดสมุนไพรชนิดต่างๆ
      ตัวแปรต้น          สารสกัดจากสมุนไพร ใบเตย ผิวมะกรูด ต้นตะไคร้หอม
      ตัวแปรตาม        ความสามารถในการกำจัดกลิ่น
      ตัวแปรควบคุม   ปริมาณของสมุนไพร และแอลกอฮอล์ 
ตอนที่ 2 การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ใช้สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศจากสารสกัดสมุนไพรชนิดต่างๆ
       ตัวแปรต้น สเปรย์สมุนไพรสามกลิ่นชนิดคือ กลิ่นตะไคร้,กลิ่นใบเตย,กลิ่นใบมะกรูด
       ตัวแปรตาม ผู้ใช้มีความคิดเห็นอย่างไรกับสเปรยสมุนไพรปรับกาอาศทั้งสามชนิด
       ตัวแปรควบคุม ควบคุม เวลาในการใช้สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ
1.6  นิยามศัพท์เฉพาะ
      ความสามารถในการกำจัดกลิ่น หมายถึง  การปรับกลิ่นหรือปรับอากาศอากาศให้ดีขึ้นทำให้กลิ่นเก่าๆหายไป




บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

1        พืชสมุนไพร สมุนไพร (Medicinal Plant หรือ Herb) กาเนิดจากธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์   โดยเฉพาะในมิติทางสุขภาพ


       2. ข้อมูลพืชสมุนไพรที่นามาใช้ในการทดลอง ในการหาวิธีการในการทำสเปรย์กำจัดกลิ่น  ที่ไม่พึงประสงค์ในห้องต่างๆ ผู้ที่สนใจในด้านสุขภาพ ได้หันมาใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไปในครัวเรือนแทนการใช้สารเคมีที่มีราคาสูง เพราะสมุนไพรสามารถหาได้ง่ายและสามารถปลูกเองได้ และเป็นการช่วยลดต้นทุนในการผลิตและการเพาะปลูกได้อีก ทั้งยังส่งผลด้านสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค สมุนไพรที่สามารถนามาใช้ในการทำสเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ  

2.1 ตะไคร้ : Ta khrai (ตะไคร้เป็นได้ทั้งพืชเครื่องเทศและสมุนไพร)
  
ภาพที่ 2.1 แสดงลักษณะตะไคร้
ที่มา : สมุนไพรกับวัฒนธรรมไทย ตอนที่ 2 ไม้ริมรั้ว, 2542
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citrates (DC.ex Nees) Stapf.
ชื่อวงศ์ Gramineae
ชื่ออังกฤษ Lemon grass , Citronella, West Indian lemongrass, Fever grass, Oil grass
ชื่ออื่นๆ คมหอม (ฉาน, เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ไคร (ใต้,มาเลย์) จะไคร (ภาคเหนือ) เชิดเกย เสลอะเกรย (สุรินทร์) ห่อวอตะโป (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หัวสิงไค (เขมร - ปราจีนบุรี)
ส่วนที่ใช้ ราก ลาต้นใบ เหง้า
สารที่พบ น้ามันหอมระเหย มีประมาณ 0.16% น้ามันหอมระเหย เช่น citral eugenol, geraniol,inalool,camphor
2.1.1 คุณสมบัติ
2.1. 1.1 แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลม แก้อาการเกร็งและขับเหงื่อ
2.1.1.2 เป็นยาขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด 2. 1.1.3 ลดความดันโลหิตสูง
2.1.1.4 ใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร ใช้ดับกลิ่นคาวของอาหาร ใช้เป็นส่วน ผสมในเครื่องแกงต่าง ๆ
2.1.2 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ตะไคร้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวประเภทล้มลุก เจริญเติบโตรวมอยู่เป็นกอ ใบและหัวมีกลิ่นหอม ราก เป็นระบบรากฝอย
ลาต้น อยู่บนดินรวมกันเป็นกอแน่น มีสีเขียวและม่วงอ่อน ลาต้นเป็นรูปทรงกระบอก มีลักษณะแข็งเกลี้ยง ตามปล้องมักมีไขปกคลุม ลาต้นสูงได้ถึง 1 เมตร
ใบ เป็นใบเดี่ยว มีลักษณะยาวเรียวคล้ายใบข้าว ใบรูปขอบขนานแคบ ใบกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวได้ถึง 100 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ผิวใบทั้งสองด้านมีลักษณะสากมือ เส้นกลางใบแข็งตรงรอยต่อระหว่างกากใบและตัวใบมีเกล็ดบางๆ ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ตามขอบใบมีขนเล็กน้อย
ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ช่อดอกย่อยมีก้านออกเป็นคู่ ๆ แต่ละคู่รองรับด้วยใบประดับช่อ ดอกย่อยประกอบด้วยดอกย่อยออกเป็นคู่ ๆ ดอกหนึ่งมีก้านอีกดอกหนึ่งไม่มีก้าน ภายในดอกย่อยแต่ละดอกประกอบด้วยดอกเล็กๆ 2 ดอก ดอกล่างลดรูปมีเพียงเกลีบเดี่ยวโปร่งแสง ปลายแหลมเรียว ดอกบน ในดอกย่อยที่ไม่มีก้านจะเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ส่วนดอกบนของดอกย่อยที่มีก้านจะเป็นดอกเพศผู้หรือเป็นหมัน
ผล มีขนาดเล็กเปลือกบาง ๆ ห่อหุ้ม
เมล็ด มีแป้งสะสมค่อนข้างมาก
2.1.3 สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ตะไคร้เป็นพืชที่ปลูกง่าย งอกงามดีในดินเกือบทุกชนิด ยกเว้นดินเหนียว 2.1.4 นิเวศวิทยา
แหล่งกาเนิดที่แน่นอนไม่ทราบแน่ชัด คาดว่าน่าจะเป็นมาเลเซีย ตะไคร้เป็นพืชที่รู้จักและปลูกในหลาย ๆ ประเทศในเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมามีการนาไปยังอเมริกาใต้และกลางและไปยังมาดากัสการ์ หมู่เกาะใกล้เคียงจนกระทั่งในอัฟริกา ปัจจุบันมีการปลูกทั่วไปในเขตร้อนและกึ่งร้อน อินเดียและใกล้เคียง หมู่เกาะของประเทศศรีลังกา คาบสมุทรมาเลย์ แล้วแพร่กระจายไปปลูกในประเทศเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในทวีปเอเชีย อเมริกา อัฟริกา และอื่นๆ ตะไคร้ขึ้นในที่โล่งแจ้ง ดินร่วนทั่วๆ ไปในประเทศไทยปลูกเป็นพืชผักสวนครัว หรือการค้า (ก่องกานดา ชยามฤต, 2540)

2.2 มะกรูด : Ma krud (เป็นได้ทั้งพืชเครื่องเทศและสมุนไพร)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ciirus hystrix SC.
ชื่อสามัญ Porcupine Orange,Kiffir Lime,Leech Lime
ชื่อวงศ์ Rutaceae
ชื่ออังกฤษ Leech Lime, Mauritius Papeda, Kaffir Lime, Porcupine
Orange
ชื่ออื่นๆ มะขูด มะขุน (ภาคเหนือ), ส้มกรูด ส้มมั่วผี(ภาคใต้), โกร้ยเขียด (เขมร), มะขู (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)
ส่วนที่ใช้ ผล ผิวของผลและใบ
สารที่พบ กรด Citric ในน้าของผลมะกรูด และน้ามันหอมระเหย
citronellal ที่พบในผิวของผลและพบที่ใบและดอก
2.2.1 คุณสมบัติ
2.2.1.1 ใช้เป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่างๆ คือ น้าในผลแก้อาการท้องอืด
ช่วยให้เจริญอาหาร น้ามะกรูดใช้ดองยา เพื่อใช้ฟอกเลือดและบารุงโลหิตสตรี ใบมะกรูดใช้เป็นยาขับลมในลาไส้ แก้จุกเสียด ผลมะกรูดที่คว้านไส้ออกนามหาหิงคุ์ใส่แทนใช้เป็นยาขับลมแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน

2.2.1.2 ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอางต่างๆ
2.2.1.3 กรด Citric ช่วยขจัดคราบสบู่ (ด่าง) ที่หลงเหลืออยู่ทาให้ผมหวีง่าย น้ามันจากผิวมะกรูดช่วยให้ผมดกเป็นเงางาม
2.2.2 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
2.2.2.1 ลาต้น มะกรูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ปลูกไว้ครั้งเดียวก็มีชีวิตอยู่ได้นานปี ลาต้นและกิ่งมีหนามแหลม
2.2.2.2 ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยเพียงใบเดียว มีก้านใบแผ่ออกใหญ่ เท่ากันกับแผ่นใบ ทาให้เห็นใบเป็นสองตอน ใบค่อยข้างหนาสีเขียวแก่ ใบมีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ามัน
2.2.2.3 ดอก ดอกเดี่ยวสีขาวมักจะอยู่เป็นกระจุก 3-5 ดอกกลีบดอกร่วงง่าย 2.2.2.4 ผล เป็นผลเดี่ยว รูปร่างของผลมีหลายแบบแล้วแต่พันธุ์ บางพันธุ์มี
ผลขนาดใหญ่ บางพันธุ์มีผิวของผลขรุขระและมีจุกที่หัวผล บางพันธุ์ผลมีขนาดเล็ก บางพันธุ์มีผิวของผลเรียบ

2.2.3 สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
พื้นที่ปลูกมะกรูดควรเป็นพื้นที่ซึ่งน้าไม่ท่วม ดินมีการระบายน้าดี ปกติ มะกรูดต้องการน้าเพื่อการเจริญเติบโตพอสมควรถ้าขาดน้าเสียแล้วจะทาให้พืชเหี่ยวเฉา และเจริญ เติบโตช้า ผลไม่ดก ขนาดและคุณภาพของผลไม่ดี

2.3 ใบเตย : Bai  Turi (เป็นได้ทั้งพืชเครื่องเทศและสมุนไพร)
ชื่อวิทยาศาสตร์:  Pandanus amaryllifolius Roxb.
ชื่อวงศ์:  PANDANACEAE
ชื่อสามัญ:  Pandanus


ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้พุ่มขนาดเล็ก  เจริญเติบโตลักษณะเป็นกอ  มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ผิวดิน ลำต้นติดดิน ออกรากตามข้อของลำต้นได้เมื่อลำต้นยาวมากขึ้นใช้เป็นรากค้ำยัน
    ใบ  เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ
    ดอก  เป็นดอกช่อแบบ สแปดิก(spadix) ดอกย่อยแยกเพศและแยกต้น ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก
    ฝัก/ผล  ผลขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ไม่เกิดดอกและผล เป็นเตยเพศผู้
การปลูก:  ตามริมคูน้ำบริเวณที่น้ำขังแฉะ หรือที่ดินชื้น
การดูแลรักษา:  ชอบแสงแดดรำไร แต่ก็ทนต่อแสงแดดจัด
การขยายพันธุ์:  ปักชำลำต้น  หรือกิ่งแขนง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ใบ
การใช้ประโยชน์:
     -    ไม้ประดับ
     -    สมุนไพร
     -    ใช้เป็นภาชนะห่อและใส่เพื่อปรุงกลิ่น อาหาร คาวหวาน  และยังเป็นพันธุ์ที่ชาวสวนปลูกตัดใบออกจำหน่ายเป็นการค้า
ถิ่นกำเนิด:  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สรรพคุณทางยา:
     -    ใช้ใบเตยสดเป็นยาบำรุงหัวใจ ให้ชุ่มชื่นช่วยลดอาการกระหายน้ำ
     -    รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้รักษาเบาหวาน



บทที่ 3
วัสดุอุปกรณ์,สารเคมีในการทดลองและวิธีการทดลอง
3.1 วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการทดลอง อุปกรณ์และสารเคมี
อุปกรณ์
1.             หม้อ
2.             กรวย
3.             ขวดสเปรย์
4.             ภาชนะตวง
วัสดุและสารเคมี
1.             ตะไคร้      1  ขีด
2.             ใบมะกรูด  ขีด
3.             ใบเตย      ขีด
4.             แอลกอฮอร์ 200 มิลลิลิตร (เจือจาง 70%)










3.2  วิธีการทดลอง

1.
    นำใบเตย ตะไคร้หอม ใบมะกรูดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ(เพื่อให้สมุนไพรสามารถออกกลิ่นได้เร็วกว่าการที่ต้มโดยไม่หั่น)

ใบเตย

 ตะไคร้


ใบมะกรูด

 2.นำสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดลงไปต้มชนิดละ 1 ขีด ต่อน้ำ 800 มิลลิลิตร และแอลกอฮอร์ 200 มิลลิลิตร                

ต้มใบเตยกับน้ำและแอลกอฮอร์ 

ต้มตะไคร้หอมกับน้ำแอลกอฮอร์         

ต้มใบมะกรูดกับน้ำและแอลกอฮอร์     
 3.   ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วกรองกากสมุนไพรออก

กรองใบเตย
กรองตะไคร้
กรองใบมะกรูด

4.จะได้น้ำสมุนไพรที่กรองแล้ว


            น้ำสมุนไพรตะไคร้         
       
น้ำสมุนไพรใบเตย

น้ำสมุนไพรใบมะกรูด

5.นำน้ำสมุนไพรทั้งสาม บรรจุใส่ขวดสเปรย์

3 : 2.2 วิธีการทดสอบความสามารถในการกำจัดกลิ่นของสเปรย์สมุนไพรปรับอากาศจากสารสกัดจากสมุนไพรชนิดต่างๆ
1.      หาผู้ทดลอง 15-20 คน มาดมกลิ่นในห้องที่จัดเตรียมให้และมีกลิ่นอับ
2.      นำสเปรย์สมุนไพรฉีดในห้อง
3.      ให้ผู้ทดลองลองสูดดมอากาศในห้องอีกครั้ง
4.      สอบถามความคิดเห็นของผู้ทดลอง

3 : 2.2 วิธีการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ จากสารสกัดจากสมุนไพรชนิดต่างๆ
1.      หาผู้ทดลองมาประมาณ 30 คน
2.      นำสเปรย์สมุนไพรให้ผู้ทดลองใช้ 2- 3 ครั้ง
3.      ทำแบบสอบถาม
4.      นำแบบสอบถามให้ผู้ทดลองแสดงความคิดเห็น
5.      รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม



บทที่ 4
ผลการทดลอง
                    จากการทดลองเรื่อง สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศทำให้คณะผู้จัดทำได้สำรวจประสิทธิภาพของสเปรย์สมุนไพรปรับอากาศในสถานที่เดียวกัน จากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพจะเห็นได้ดังนี้
4.1 ผลการทดสอบกลิ่นของสเปรย์สมุนไพร


ชนิดของสมุนไพร

ผลการทดลอง

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

1.ใบเตย

มีกลิ่นเล็กน้อย

มีกลิ่นเล็กน้อย

มีกลิ่น

2.ตะไคร้

มีกลิ่นเล็กน้อย

มีกลิ่นเล็กน้อย

มีกลิ่น

3.ใบมะกรูด

มีกลิ่นเล็กน้อย

มีกลิ่นเล็กน้อย

มีกลิ่น

       


1.2   ผลการสำรวจความคิดเห็น
เพศ         ชาย  50%      หญิง  50% 
              อาชีพ     นักเรียน 30%  ข้าราชการ 36%  รับจ้าง 17%  เกษตรกร  17%  
อายุ      10- 20 ปี 30%      21 – 30 ปี 3%    31- 40 ปี 16%       40 ปีขึ้นไป 41%              

ลำ
ดับ


หัวข้อที่สอบถาม

ความพึงพอใจของผู้ใช้  เปอร์เซ็น

มากที่สุด

มาก

ปานกลาง

น้อย

น้อยที่สุด

1

กลิ่นของสเปรย์มีกลิ่นหอมของสมุนไพร

70.00

23.33


6.67


-

-

2
ขนาดของขวดสเปรย์จับถนัดมือ
43.33
36.67

20.00


-

-

3
ขั้นตอนการผลิตมีความปลอดภัย

50.00

26.67

23.33


-

-

4
สเปรย์สามารถปรับอากาศได้จริง

23.33

56.67

20.00


-

-

5
สเปรย์ที่ใช้มีอายุการใช้งานนาน

40.00

40.00

20.00

-

-

6
กลิ่นของสมุนไพรดับกลิ่นอับได้

33.33

46.76

20.00

-

-

7
ไม่ทำให้เกิดผื่นคันตามร่างกาย

46.67

23.33

30.00

-

-

8
จัดเก็บได้สะดวก

40.00

26.67

33.33

-

-









บทที่ 5
สรุปผลการทดลอง
5.1 สรุปผลการทดลอง
              จากการทดลองพบว่าสเปรย์สมุนไพรปรับอากาศจาก ใบเตย ตะไคร้หอม และใบมะกรูดมรความสามารถในการดับกลิ่นได้ โดยประสิทธิภาพของการดับกลิ่นนั้นขึ้นกับจำนวนครั้งที่ฉีดพ่น และกลิ่นจะคงอยู่เพียงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น และจากการสำรวจความคิดเห็นของผลิตภัณฑ์พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในประสิทธิภาพของการผลิตภัณฑ์ในระดับมากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 43.33, ระดับมากร้อยละ 35 และมีความพึงพอใจปานกลางอยู่ที่ร้อยละ 21.67 นอกจากนี้สามารถเพิ่มประโยชน์ให้กับสมุนไพรในท้องถิ่นได้อีกด้วย

   5.3 ข้อเสนอแน
1 การทดลองในครั้งนี้เป็นการทดลองเปรียบเทียบ อาจสามารถเพิ่มสมุนไพรที่สามารถช่วยได้กลิ่นอื่นๆ ได้ 
 2 ในการสกัดน้ำมันหอมระเหยควรระมัดระวังการใช้แอลกอฮอล์เพราะเป็นสารติดไฟได้ง่าย
 3.ในการทำการทดลองควรอยู่ในความดูแลของครู หรือ ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมี
4. ผลจากการใช้งานจะมีระยะเวลาเพียงชั่วครู่ อาจเพิ่มประสิทธิภาพการสกัดให้ดีขึ้นเพื่อให้ได้น้ำมันหอมระเหยที่บริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น เพื่อทำให้กลิ่นคงอยู่นาน




เอกสารอ้างอิง
ก่องกานดา ชยามฤต. สมุนไพรไทย ตอนที่ 6. กรุงเทพฯ. 2540.

ตะไคร้.[online]. Available from http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_25.htm
             [2014 September 9]
รุ่งรัตน์ เหลืองนทีเทพ. พืชเครื่องเทศและสมุนไพร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์
              , 2540.
สมุนไพรกับวัฒนธรรมไทย ตอนที่ 2 ไม้ริมรั้ว. กรุงเทพฯ : สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการ
               แพทย์กระทรวง   สาธารณสุข, 2552.