วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

♥ ☺สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ☺ ♥

♥♥♥สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ♥♥♥


ที่มาและความสำคัญ
        เศรษฐกิจ พอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีเพื่อชี้แนะแนวทาง
ดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง
 ความพอมี พอใช้
การรู้จักพอประมาณการคำนึงถึงความมีเหตุผลส่งเสริมความประหยัดในครัวเรือน
จากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   

น้ำยาดับกลิ่นห้องน้ำตามท้องตลาดมาใช้นั้นจะมีราคาแพงซึ่งส่วนใหญ่
ผลิตจากสารเคมีทำให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อม จึงศึกษาสมุนไพรที่หาง่ายในท้องถิ่น
และเป็น    สมุนไพรที่มีกลิ่นหอม เช่น ใบเตย ผิวมะกูด ใบตะไคร้
มาทดลองสกัดคลอโรฟิลล์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณที่เหมาะสมและชนิดของสมุนไพร

อัตราส่วน
ระหว่างสมุนไพร 30 กรัม ต่อ แอลกอฮอล์ 300 มิลลิลิตร

ปัจจุบันสภาวะแวดล้อม  มีกลิ่นเป็นมลพิษต่อระบบหายใจ
หากเราซื้อน้ำยาดับกลิ่นตามท้องตลาด มาใช้นั้นจะมีราคาแพง ซึ่งส่วนใหญ่จะผลิตจากสารเคมีทำให้เกิด
อันตรายต่อสภาพแวดล้อมมากขึ้น

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการกำจัดกลิ่นของสารสกัด ใบเตย ผิวมะกูด และใบตะไคร้หอม ในอัตราส่วนที่แตกต่าง
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถในการกำจัดกลิ่นของสารสกัดจากใบเตย ผิวมะกูดและใบตะไคร้
3. เพื่อเพิ่มคุณค่าของสมุนไพรในท้องถิ่น

ตัวแปร
ตัวแปรต้น          สารสกัดจากสมุนไพร
ตัวแปรตาม        ความสามารถในการกำจัดกลิ่น
ตัวแปรควบคุม   ปริมาณของสมุนไพร และแอลกอฮอล์ 



ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
1.             เพื่อศึกษาการทำสเปรย์ปรับอากาศสมุนไพร
2.             เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสมุนไพรในการดับกลิ่นอับ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.             การเพิ่มคุณค่าให้กับสมุนไพรในท้องถิ่น
2.             การลดมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม
3.             การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับวิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์



เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ผู้ทำโครงงานได้ศึกษาความรู้ในเรื่องต่างๆดังนี้
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.ต้นตะไคร้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon nardus Rendle
วงศ์ POACEAE (GRAMINEAE)
ชื่อท้องถิ่น ตะไคร้แดง จะไคมะขูด ตะไคร้มะขูด
ลักษณะพืช พืชล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้า ลำต้นตั้งตรง สูง 2 เมตร ออกเป็นกอ ใบเกลี้ยง รูปยาวแคบ กว้าง 5-20 มม. ยาวได้ถึง 1 เมตร มีกลิ่นหอม ตรงรอยต่อระหว่างใบกับกาบ มีแผ่นรูปไข่ปลายตัดยื่นออกมา ยาวประมาณ 2 มม. มีขนกาบหุ้มติดทน กาบล่างสุดเกยซ้อนกัน เมื่อแห้งจะม้วนขึ้น ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ยาวได้ถึง 80 ซม. มีใบประดับ ลักษณะคล้ายกาบ ยาวประมาณ 25 มม. รองรับอยู่ ช่อดอกแยกเป็นหลายแขนง แต่ละแขนงมีช่อย่อย 4-5 ช่อ ผลแห้งไม่แตก ตะไคร้หอมมีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกับตะไคร้กอ ต่างกันที่กลิ่น ต้นและใบยาวกว่าตะไคร้กอมาก แผ่นใบกว้างยาวและนิ่มกว่าเล็กน้อย
2.ต้นใบเตย  ชื่อวิทยาศาสตร์ pandans tectorins
ลักษณะ เป็นไม้กิ่งพุ่ม ก้านใบเดียว มีรางน้ำ มีสีนวล
3.ต้นมะกูด
ชื่อทางพฤกษศาสตร์ : Citrus Hystrix
วงศ์ : RUTACEAE
ชื่อที่เรียก : ในไทยทั่วไปเรียก มะกูด ภาคใต้เรียก ส้มมั่วผี ทางภาคอีสานเรียก
มะหูด ทางภาคกลางเรียก ส้มมะกรูด
ลักษณะ : ต้นมะกรูด เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม ใบเขียวหนา มีคอดกิ่วที่กลางใบ
เป็นตอนๆ ดอกสีขาว เกสรมีสีเหลือง กลิ่นหอมเล็กน้อย ผลคล้ายผล    ส้มซ่า ผิวหนาเป็นร่องขรุขระทั้งลูก มีขั้วจุกสูง ตามต้นและกิ่งมีหนาม   ยาวเล็กน้อย น้ำในลูกมีรสเปรี้ยว
การเจริญเติบโต : ปลูกได้ไม่ต้องเลือกดิน มีปลูกกันตามบ้านเรือน


วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการทดลอง อุปกรณ์และสารเคมี
อุปกรณ์
1.             หม้อ
2.             กรวย
3.             ขวดสเปรย์
4.             ภาชนะตวง
วัสดุและสารเคมี
1.             ตะไคร้ 30 กรัม
2.             ใบมะกรูด 30 กรัม
3.             ใบเตย 30 กรัม
4.             แอลกอฮอร์ 600 มิลลิลิตร (เจือจาง 70%)

วิธีการทดลอง
1.    นำใบเตย ตะไคร้ ใบมะกรูดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ(เพื่อให้สมุนไพรสามารถออกกลิ่นได้เร็วกว่าการที่ต้มโดยไม่หั่น)

 2.นำสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดลงไปต้ม

          
     ต้มใบเตยกับแอลกอฮอร์ผสมน้ำ     ต้มตะไคร้กับแอลกอฮอร์ผสมน้ำ       ต้มใบมะกรูดกับแอลกอฮอร์ผสมน้ำ


 3.   ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วกรองกากสมุนไพรออก จากนั้นสามารถบรรจุลงขวดสเปรย์ได้ทันที 







♥♥♥...มารู้จักโปรแกรม google sketchup 8 กันเถอะ...♥♥♥


☻☺ โปรแกรม ☺☻
google sketchup 8

ตั้งค่าการใช้งาน Google SketchUp 

      ก่อนจะเริ่มการใช้งาน Google SketchUp เราควรที่จะรู้จักกับ Interface ของ Google SketchUp เมื่อเข้าสูโปรแกรมจะพบกับหน้าต่างออกแบบละส่วนของแถบเครื่องมือต่างๆ แยกเป็นส่วนๆ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม ซึ่งส่วนต่างๆเราจะสามารถตั้งค่าต่างๆก่อนเริ่มใช้งานโปรแกรม เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้เครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งค่ามาตราส่วนหน่วยวัด การตั้งค่าคีย์ลัด รวมไปถึงพื้นที่การทำงาน


  • การเลือกเทมเพลตและการสร้างเทมเพลตใหม่
เริ่มต้นเมื่อเข้าเปิดโปรแกรม Google SketchUp ครั้งแรกโปรแกรมจะให้เราเลือก Template และมาตราส่วนหน่วยวัดที่ใช้ และเราควรที่จะเลือก Template ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งใน Google SketchUp Pro 8.0 จะมี Template ให้เลือกประมาณ 14 Template แต่ละตัวมีความแตกต่างกัน




♥สร้าง Template Google SketchUp ตามสไตล์ของตัวเอง
หากเราต้องการสร้าง Template ตามที่เราต้องการ สามารถกำหนดได้เองตามขั้นตอนต่อไปนี้
1) ไปที่เมนู Windows ---> Styles 


2) เลือก List รายการสไตล์ที่ต้องการ

3) คลิกเลือก โมเดลที่เราต้องการและเราสามารถกำหนดมาตราส่วนและหน่วยวัดของ Google SketchUp โดย เลือกเมนู Windows ---> Model Info

ขั้นตอนที่ 1 เลือก Unit
ขั้นตอนที่ 2 เลือก Format เลือก ประเภท Decimal , Precision เลือกตำแหน่งหน่วย 0.0000 
ขั้นตอนที่ 3 เลือก ปกติจะเลือกเป็นประเภท Centimeters 
4) เมื่อเลือกรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว หากต้องการ Save Template ให้ไปที่ เมนู File --> SaveAs Template... จะปรากฏหน้าต่างดังภาพ
กดปุ่ม Save เพื่อทำการ Save Template เป็นอันเสร็จสิ้นการสร้าง Template
เมื่อเราเปิดโปรแกรม Google SketchUp เราสามารถเรียกใช้ Template ที่เราบันทึกไว้ ดังภาพ
♥การตั้งค่ามาตราส่วนและหน่วยวัด Google SketchUp
ในการสร้างและออกแบบโมเดลใน Google SketchUp เราสามารถกำหนดมาตราส่วนและหน่วยวัดได้ดั้งนี้
ไปที่ เมนู Windows ---> Model Info
   
ส่วนที่ 1 เลือก Unit Length Unit
   ส่วนที่ 2 เลือก ประเภทหน่วยวัด ซึ่งส่วนใหญ่ที่ใช้กันในการออกแบบโมเดลพื้นฐานจะใช้เป็น Decimal และเลือก Precision เป็น 0.0000 
   ส่วนที่ 3 เลือกเป็น Centimeters ซึ่งเหมาะสำหรับการออกแบบโมเดลพื้นฐาน Angle Units ใช้ในการกำหนดหน่วยย่อยของหน่วยวัดมุม และกำหนด Snapping ของมุมที่กำหนด





แถบเครื่องมือ Google SketchUp 

♥การปรับแต่ง Toolbar Google SketchUp


เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Google SketchUp จะปรากฏแถบเครื่องมือ ชุด Getting Started เป็นเครื่องมือเริ่มต้นของ Google SketchUp ดังภาพ





    ♥การเคลื่อนย้ายตำแหน่งของ Toolbar 
เราสามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งของเครื่องมือได้มีอิสระ ไม่ว่าจะเป็นด้านข้าง ด้านบนและด้านล่าง หรือวางในตำแหน่งพื้นที่การสร้างโมเดลได้ โดยคลิกที่ขอบของแถบเครื่องมือแล้วลากวางในตำแหน่งที่เราต้องการ ทั้งนี้ยังสามารถปรับขนาดของแถบเครื่องมือได้โดยการลากตรงขอบด้านบนของแถบ Toorbar


การเพิ่มแถบเครื่องมือ

แถบเครื่องมือของ Google sketchUp สามารถเพิ่มเติมหรือเรียกใช้ได้ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและสามารถเรียกใช้เครื่องมือได้อย่างสะดวก โดยเราสามารถเรียกใช้แถบเครื่องมือได้ดังนี้
        ไปที่ เมนู View ------> Toolbar ------> แล้วคลิกเลือกเมนูที่ต้องการ ในตัวอย่างจะเลือก Toolbar ของ Camera จะได้ผลดังภาพ




♦การบันทึกตำแหน่งชุดเครื่องมือ
เมื่อเราเลือกวางตำแหน่งของชุดเครื่องมือตามที่เราต้องการแล้ว เราสามารถบันทึกตำแหน่งชุดเครื่องมือได้โดย ไปที่ เมนู View ---> Toolbar--->Save Toolbar Positions ดังภาพ


เมื่อเราขยับชุดเครื่องมือเพื่อทำงาน แล้วต้องการให้เครื่องมือย้ายกลับไปตำแหน่งที่เรา Save ให้เราไปที่ เมนู View ---> Toolbar ---> Restore Toolbar Positions ดังภาพ
ภาพก่อน Restore Toolbar Positions
ภาพหลัง Restore Toolbar Positions 
หลังจากใช้คำสั่ง Restore Toolbar Positions เครื่องมือจะกลับคืนตำแหน่งที่เราทำการ Save Positions ไว้






♠ ♣ ♣ การควบคุมมุมมอง Google SketchUp ♣ ♣ ♠

การควบคุมมุมมองด้วยเม้าส์และคีย์บอร์ด

         เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวก และรวดเร็ว เรายังสามารถที่จะควบคุมมุมมองในขณะทำงานด้วยเครื่องมือต่างๆได้ด้วยการใช้ เม้าส์ร่วมกับคีย์บอร์ด โดยมีรูปแบบการใช้งานดังนี้



การปรับหมุนมุมมอง       คลิกที่ลูกกลิ้งของเม้าส์ เครื่องมือจะถูกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือ Orbit ชั่วคราว
การเลื่อนมุมมอง            คลิกที่ลูกกลิ้งของเม้าส์พร้อมกดคีย์ Shift เครื่องมือจะถูกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือ  
                                   Pan ชั่วคราว
การย่อ / ขยาย              หมุนลูกกลิ้งไปข้างหน้าจะเป็นการขยาย หมุนมาด้านหลังจะเป็นการย่อ

         ในขณะที่เลือกเครื่องมือ Orbit, Pan และ Zoom สามารถที่จะคลิกเม้าส์ปุ่มขวาเพื่อเรียกแสดงเมนูคำสั่ง สำหรับการควบคุมมุมมองได้อีกด้วย

Tip : ในขณะที่ใช้เครื่องมือ Orbit, Pan, Look, Around, Walk หรือ Zoom การกำหนดปุ่ม ESC หรือ คลิกขวาเลือกคำสั่ง Exit เครื่องมือจะถูกเปลี่ยนไปเป็นเครื่องมือก่อนหน้าที่ถูกเลือกใช้งาน




หมายเหตุ : ในกรณีที่ใช้เครื่องมือใดๆอยู่ แล้วทำการเปลี่ยนเครื่องมือเป็น Orbit หรือ Pan ชั่วคราว ซึ่งขณะนั้นจะมีการคลิกเม้าส์ปุ่มกลางอยู่ก็ให้คลิกเม้าส์ปุ่มขวาเพื่อเรียก แสดงเมนูได้ โดยจะต้องไม่ปล่อยเม้าส์ปุ่มกลา




 ◘ แกนอ้างอิง Google SketchUp ◘

การอ้างอิงทิศทางด้วยแกนอ้างอิง (Axes)
          การวาดเส้นใน Google SketchUp จะมีการอ้างอิงทิศทางตามแกนอ้างอิง (Axes) ทั้ง แกนเพื่อให้การสร้างเส้นในทิศทางต่างๆ มีความถูกต้องและแม่นยำ โดยถ้าวาดเส้นขนานไปตามแกน เส้นที่กำลังวาดอยู่จะแสดงเป็นสีแดง หรือถ้าวาดเส้นขนานไป ตามแกน เส้นที่กำลังวาดอยู่จะแสดงเป็นสีเขียว

 แกน X
 แกน Y

การย้ายตำแหน่งแกนอ้างอิง
          เราสามารถที่จะย้ายตำแหน่งของแกนอ้างอิงและปรับหมุนไปในทิศทางต่างๆ ได้เพื่อใช้
อ้างอิงการสร้างเส้นหรือรูปทรงในทิศทางที่ต้องการ สามารถทำได้โดยเลือกไอคอน    หรือเลือกจากเมนู Tools --- > Axes หรือจะใช้วิธีคลิกขวาที่แกนอ้างอิงแล้วเลือกคำสั่ง Place ก็ได้เช่นกัน




          นอกจากนี้เรายังสามารถย้ายแกนอ้างอิงไปยังตำแหน่งใดๆ โดยการกำหนดตำแหน่งและทิศทางที่แน่นอนลงไป สามารถทำได้โดยคลิกขวาที่แกนอ้างอิงแล้วเลือกคำสั่ง Move จะปรากฏหน้าต่าง Move Sketching Context ขึ้นมา โดยจะมีตัวเลือกให้กำหนดค่าทั้งในส่วนของการกำหนดตำแหน่งและการกำหนดองศาของแกนทั้ง แกน

การอ้างอิงตำแหน่งด้วย Inference
          Inference เป็นอีกความสามารถของ Google SketchUp ที่จะช่วยให้การสร้างชิ้นงานในตำแหน่งและทิศทางต่างๆ สามารถกระทำได้ง่ายขึ้น โดย Inference จะแสดงอยู่ในรูปแบบของสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น จุดสี เส้นทึบ เส้นประสีต่างๆ พร้อมแสดงข้อความที่จะช่วยให้เรารู้ว่าขณะนั้นกำลังทำงานอยู่ที่ตำแหน่งไหน และอ้างอิงอยู่กับแกนใด
            Inference เป็นแบบจุด (Point Inference) จะปรากฏให้เห็นตามแนวเส้นและพื้นผิวของชิ้นงานพร้อม
ข้อความกำกับ โดยรูปแบบของจุด สี และข้อความจะแสดงผลแตกต่างกันออกไป


Inference แบบเส้น (Line Inference)
          จะปรากฏให้เห็นขณะมีการวาดเส้นไปยังทิศทางต่างๆ ที่อ้างอิงจากแกนอ้างอิงหรือเส้นตรงบนชิ้นงาน โดย Inference แบบเส้นจะแสดงให้เห็นด้วยเส้นที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป พร้อมแสดงข้อความกำกับ โดยรูปแบบของเส้น สี และข้อความจะแสดงผลแตกต่างกันออกไป


 Inference บนพื้นระนาบ (Planar Inference)
          เป็น Inference ที่จะช่วยให้การสร้างเส้นหรือรูปทรงต่างๆ บนพื้นผิวระนาบได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะหมายถึงการทำงานบนพื้นผิวที่มีความคลาดเอียงในทิศทางต่างๆ รวมไปถึงตำแหน่งที่เป็นพื้นดินบนพื้นผิวการทำงานด้ว



การแบ่งเส้นตรงออกเป็นส่วนๆ ด้วยคำสั่่ง Divide
          เรา สามารถแบ่งเส้นตรงออกเป็นส่วนๆที่เท่ากันได้โดยการคลิกขวาที่เส้นที่ต้องการ แบ่ง แล้วเลือกคำสั่ง Divide แล้วเลื่อนเม้าส์เพื่อกำหนดจำนวนการแบ่งเส้น หรือกำหนดในช่อง Segments ก็ได้เช่นกัน
ดังภาพ

☺องค์ประกอบของวัตถุใน Google SketchUp ☻

องค์ประกอบของวัตถุใน Google SketchUp
          วัตถุหรือรูปทรงใน Google sketchUp  จะปรากฏไปด้วยเส้นและพื้นผิวเป็นหลัก โดยพื้นผิวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการบรรจบกันของเส้นตั้งแต่ เส้นขึ้นไป ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่เราวาดเส้นมาบรรจบกันในระนาบเดียวกันก็จะเกิดพื้นผิวขึ้นภายในขอบเขตของเส้นเหล่านั้น และในส่วนของพื้นผิวเองจะมีด้วยกันอยู่ ด้านคือ พื้นผิวด้านนอกและพื้นผิวด้านใน ดังภาพ